กรมชลประทาน พร้อมรับมือเอลนีโญ ตามที่เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ได้ประกาศเตือนถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่จะส่งผลให้ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ และคาดว่าจะกินระยะเวลายาวนานไปจนถึงต้นปีหน้า กรมชลประทานได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เอลนีโญอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนรับมือ

กรมชลประทาน พร้อมรับมือเอลนีโญ

กรมชลประทานวางแผนจัดสรรน้ำในพื้นที่ชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือเอลนีโญ เน้นเก็บกักน้ำในเขื่อนและแหล่งน้ำต่างๆให้ได้มากที่สุด ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมใจกันประหยัดน้ำ ลดเสี่ยงปัญหาขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ได้ประกาศเตือนถึงปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะส่งผลให้ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ และคาดว่าจะกินระยะเวลายาวนานไปจนถึงต้นปีหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางที่มีการใช้น้ำในการเพาะปลูกเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรได้ด้วยนั้น

กรมชลประทาน ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เอลนีโญอย่างต่อเนื่อง พร้อมวางแผนรับมือ ด้วยการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆไว้ให้ได้มากที่สุด การบริหารจัดการน้ำฝนผ่านระบบคลองชลประทานแทนการระบายน้ำจากเขื่อน เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ มีการจัดรอบเวรการใช้น้ำรวมทั้งให้สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสูบน้ำตามรอบเวรอย่างเคร่งครัด เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทาน ลงพื้นที่ให้คำแนะนำเกษตรกรที่ยังไม่ได้เพาะปลูก ให้ทยอยปลูกพืชเมื่อมีฝนตกในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอและใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก เพื่อลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย สำหรับพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกแล้ว จะดำเนินการส่งน้ำตามรอบเวรของแต่ละพื้นที่

การเตรียมพร้อมช่วยเหลือเกษตรกร

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และอุปกรณ์ต่างๆ ไว้คอยช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแก้มลิงหรือบ่อบาดาล มาช่วยเสริมในกรณีที่เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำอีกด้วย

ที่สำคัญกรมชลประทานได้ทำการประชาสัมพันธ์ถึงปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่จะส่งผลต่อสถานการณ์น้ำให้ประชาชนและเกษตรกรได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กำหนด เพื่อบรรเทาปัญหาที่จะเกิดกับประชาชนและเกษตรกรให้ได้มากที่สุด จึงขอให้ทุกภาคส่วนร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนน้ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ความสำคัญและประโยชน์เพื่อการเกษตร

กรมชลประทานมีความสำคัญต่อการเกษตร ในการเกษตรกรรมน้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นของดิน ธาตุอาหารซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายในดิน ประกอบกับพลังงานจากแสงแดดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยธรรมชาติ แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้มักจะมีความไม่พอเหมาะที่จะอำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืช บางปีมีฝนตกมากไปทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ บางปีมีฝนตกน้อยไปทำให้เกิดความแห้งแล้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่สภาพธรรมชาติไม่อำนวยให้ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่กรมชลประทานต้องจัดหาน้ำมาให้แก่พืชให้ได้ปริมาณพอเหมาะ และทันความต้องการของพืช เพื่อให้พืชที่ปลูกนั้นไม่ได้รับความเสียหาย และได้ผลผลิตตามที่คาดหมายไว้

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีการปลูกข้าวเป็นหลัก และตั้งอยู่ในเขตชุ่มชื้น มีปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,500 มิลลิเมตรต่อปีข้าวที่ปลูกโดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 150 – 180 วัน ผลจากการทดลองค้นคว้าทราบว่าข้าวใช้น้ไเฉลี่ยประมาณวันละ 1 ชั่วโมง (รวมทั้งการระเหย) แต่จไนวนฝนที่ตกในประเทศไทยในฤดูฝนวัดได้โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1,050 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการบางครั้งก็ตกมากไปจนเกิดความเสียหาย บางครั้งก็ขาดหายไปจนข้าวแห้งตาย ดังนั้นในระหว่างที่พืชต้องการน้ำแต่ฝนไม่ตกหรือตกแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ก็จำเป็นต้องจัดหาน้ำมาให้เป็นการเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน การจัดหาน้ำให้พอเพียงกับความต้องการของพืชตลอดเวลานั้นนับเป็นหลักการสำคัญที่สุดในการทำการเพาะปลูกการจัดหาน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของพืชตลอดเวลานั้นนับเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดในการเพาะปลูก ดังที่กล่าวไว้ว่า “ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เมื่อมีการชลประทานเข้าช่วย” เหตุผลคือ

  1. กรมชลประทานเป็นหลักประกันว่าพืชจะมีน้ำเพียงพอกับความต้องการอยู่ตลอดเวลา
  2. กรมชลประทานช่วยให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นพืชต่อไร่ได้มากขึ้น
  3. กรมชลประทานสามารถช่วยให้การใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. กรมชลประทานสามารถปลูกพืชได้หลายชนิด หรือพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงได้

กรมชลประทาน

กรมชลประทาน (ประเทศไทย)

กรมชลประทาน (Royal Irrigation Department) เป็นหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่จัดให้ได้มาซึ่งน้ำเพื่อกักเก็บรักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือแบ่งน้ำ เพื่อการเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และหมายรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กับการคมนาคมทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน

ประวัติกรมชลประทาน

งานกรมชลประทานในประเทศไทยเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดลอกคลอง และขุดคลองขึ้นใหม่ในบริเวณที่ราบภาคกลางจำนวนมาก ดำเนินการโดยเอกชน คือบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม (Siam Canals, Lands and Irrigation Company) ได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อ พ.ศ. 2431 เริ่มขุดคลองเมื่อ พ.ศ. 2433 มีระยะเวลาดำเนินการ ตามสัมปทาน 25 ปี

ใน พ.ศ. 2445 ได้ว่าจ้างนายเย โฮมัน วันเดอร์ ไฮเด วิศวกรชลประทานชาวฮอลันดา มาดำเนินงานชลประทานประเทศไทย และทรงแต่งตั้งให้ นายเย โฮมัน เข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2445 พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “กรมคลอง” และทรงแต่งตั้งนาย เย โฮมัน เป็นเจ้ากรมคลองคนแรก เพื่อทำหน้าที่ดูแลทำนุบำรุงคลองต่างๆ ไม่ให้ตื้นเขิน

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “กรมทดน้ำ” ขึ้นแทนกรมคลอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2457 และทรงแต่งตั้ง นายอาร์ ซี อาร์ วิล สัน เป็นเจ้ากรมทดน้ำ

จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า หน้าที่ของกรมทดน้ำมิได้ปฏิบัติงานอยู่เฉพาะแต่การทดน้ำเพียงอย่างเดียว งานที่กรมทดน้ำปฏิบัติอยู่จริงในขณะนั้นมีทั้งการขุดคลอง การทดน้ำ รวมทั้งการส่งน้ำตามคลองต่างๆ อีกทั้งการสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือการเพาะปลูก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก กรมทดน้ำ เป็นกรมชลประทานเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2470 โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานการขุดคลอง การทดน้ำ การส่งน้ำ และการสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง

อำนาจและหน้าที่กรมชลประทาน

  1. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เพียงพอ
  2. จัดการน้ำให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภทอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน
  3. เสริมสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้การและบริหารจัดการน้ำ ทุกระดับอย่างบูรณาการ
  4. ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยทางน้ำ

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  palumbogallery.com

สนับสนุนโดย  ufabet369